วันพฤหัสบดีที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

แบ่งมรดกอย่างไรดีให้ถูกกฎหมาย

แบ่งมรดกอย่างไรดีให้ถูกกฎหมาย
มีผู้สอบถามปัญหาเกี่ยวกับมรดกมาเป็นจำนวนมาก
ผมคิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์ให้กับอีกหลาย ๆ คน

....................................................................................................

ทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกกฎหมายจึงแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ทายาทโดยธรรม และผู้รับพินัยกรรม

หลักในการแบ่งมรดก
1.หากมีทายาทโดยพินัยกรรมและทายาทโดยธรรม ให้แบ่งมรดกให้แก่ทายาทโดยพินัยกรรมก่อน

ผู้รับพินัยกรรมผู้รับพินัยกรรม หมายถึง บุคคลซึ่งผู้ตายหรือเป็นบุคคลภายนอกทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินให้ผู้รับ พินัยกรรมอาจเป็นญาติพี่น้องของผู้ตายก็ได้ พินัยกรรมนั้นกฎหมายบังคับว่าจะต้องทำเป็นหนังสือและถูกต้องตามแบบที่กฎหมาย กำหนดไว้

ข้อสังเกตหนังสือที่จะเป็นพินัยกรรมนั้น จะต้องมีข้อความระบุว่าจะยกทรัพย์สินให้ผู้ใดเมื่อผู้ทำพินัยกรรมถึงแก่ความ ตาย ถ้าไม่มีข้อความดังกล่าวระบุไว้ หนังสือนั้นอาจเป็นหนังสือยกทรัพย์สินให้โดยเสน่ห์หาก็ได้ ผู้ทำพินัยกรรมจึงต้องระมัดระวังในเรื่องนี้

แบบของพินัยกรรมกฎหมายกำหนดแบบของพินัยกรรมไว้ 5 แบบ ผู้ทำพินัยกรรมประสงค์จะทำแบบใดแบบหนึ่งก็สามารถเลือกได้ตามใจชอบ

แบบที่ 1 พินัยกรรมแบบธรรมดา
ต้องทำเป็นหนังสือ ซึ่งจะเขียนหรือพิมพ์ก็ได้ เจ้ามรดกจะเขียนหรือพิมพ์เองก็ได้หรือให้คนอื่นเขียนหรือพิมพ์แทนก็ได้ เจ้ามรดกผู้ทำพินัยกรรมจะต้องเซ็นชื่อต่อหน้าพยานอย่างน้อย ๒ คนพร้อมกัน

แบบที่ 2 พินัยกรรมแบบเขียนเองทั้งฉบับ
เจ้ามรดกผู้ทำพินัยกรรมจะต้องเขียนข้อความในพินัยกรรมทั้งฉบับ ด้วยลายมือของตนเอง เจ้ามรดกผู้ทำพินัยกรรม จะต้องลงลายมือชื่อ (ลายเซ็น) ไว้ในพินัยกรรมนั้นจะลงลายพิมพ์นิ้วมือไม่ได้
ข้อสังเกต พินัยกรรมแบบที่ ๒ นี้ไม่ต้องมีพยานรู้เห็นในการทำพินัยกรรมแต่อย่างไร

แบบที่ 3 พินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง
เป็นพินัยกรรมที่ทางบ้านเมืองเป็นผู้จัดทำให้ คือต้องไปติดต่อขอทำพินัยกรรมแบบนี้ที่ที่ว่าการอำเภอให้จัดการทำให้ โดยเป็นหน้าที่ของนายอำเภอ โดยผู้ทำพินัยกรรมต้องไปแจ้งข้อความที่ตนประสงค์จะให้ใส่ไว้ในพินัยกรรมของ ตน แก่นายอำเภอ

แบบที่ 4 พินัยกรรมแบบเอกสารลับ
เป็นพินัยกรรมที่ทำขึ้นโดยมีลักษณะเป็นเอกสารลับกล่าวคือผู้ทำพินัยกรรมกับ ผู้เขียนพินัยกรรม (ในกรณีที่ผู้อื่นเป็นผู้เขียน) เท่านั้นที่จะรู้ว่าพินัยกรรมนั้นมีข้อความอย่างไร ซึ่งพินัยกรรมแบบนี้มีหลักเกณฑ์และขั้นตอนในการทำดังนี้คือ ผู้ทำพินัยกรรมต้องผนึกพินัยกรรมนั้นแล้วลงลายมือชื่อคาบรอยผนึกนั้น ผู้ทำพินัยกรรมต้องนำพินัยกรรมที่ผนึกนั้นไปแสดงต่อนายอำเภอและพยานอีกอย่าง น้อย ๒ คน และให้ถ้อยคำต่อบุคคลทั้งหมดเหล่านั้นว่าเป็นพินัยกรรมของตน ถ้าพินัยกรรมนั้นผู้ทำพินัยกรรมมิได้เป็นผู้เขียนเองโดยตลอด ผู้ทำพินัยกรรมจะต้องแจ้งนามและภูมิลำเนาของผู้เขียนให้ทราบด้วย

แบบที่ 5 พินัยกรรมโดยวาจา
กรณีที่มีพฤติการณ์พิเศษ ไม่อาจทำพินัยกรรมตามแบบที่ 1 – 4 ได้ เนื่องจากไม่อยู่ในวิสัยที่จะได้

ข้อควรระวังในการทำพินัยกรรม
1. ผู้เขียน หรือพยานในพินัยกรรม รวมทั้งคู่สมรสของผู้เขียนหรือพยานในพินัยกรรมแบบต่าง ๆ นั้นจะเป็นผู้รับทรัพย์ตามพินัยกรรมนั้นไม่ได้
2. บุคคลที่มีสถานะดังต่อไปนี้จะเป็นพยานในพินัยกรรมไม่ได้คือ
ก. ผู้ซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะ
ข. บุคคลวิกลจริตหรือบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นผู้เสมือนไร้ความสามารถ
ค. บุคคลที่หูหนวกเป็นใบ้หรือตาบอดทั้ง ๒ ข้าง

2.เมื่อแบ่งให้ทายาทโดยพินัยกรรมแล้ว ส่วนที่เหลือให้นำมาแบ่งให้ทายาทโดยธรรม

ทายาทโดยธรรมตามกฎหมายแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
1. ญาติ แบ่งออกเป็น 6 ลำดับ
ลำดับที่ 1 ผู้สืบสันดาน ได้แก่ บุตรของผู้ตาย ซึ่งอาจจะได้แก่บุตรในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง ดังต่อไปนี้ คือ
(ก) บุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของเจ้ามรดก ได้แก่ บุตรประเภทใดประเภทหนึ่งดังต่อไปนี้

(1) บุตรที่เกิดจากบิดา (ซึ่งเป็นเจ้ามรดก) กับมารดาซึ่งบิดามารดานั้นได้จดทะเบียนสมรสกันถูกต้องตามกฎหมาย

(2) บุตรบุญธรรมของเจ้ามรดก กล่าวคือ เป็นบุคคลที่เจ้ามรดกได้จดทะเบียนรับเป็นบุตรบุญธรรม

(3) บุตรซึ่งบิดา (ซึ่งเป็นเจ้ามรดก) กับมารดาได้จดทะเบียนสมรสกันภายหลังจากที่บุตรได้เกิดแล้ว

(ข) บุตรนอกกฎหมาย หมายถึง บุตรที่บิดา (ซึ่งเป็นเจ้ามรดก) ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับมารดา แต่มีพฤติการณ์ที่เปิดเผยบางอย่างของบิดาที่เป็นการรับรองว่าเด็กนั้นเป็น บุตรของตน เช่น อนุญาตให้เด็กใช้นามสกุลของคน หรือเป็นธุระพาบุตรไปฝากเข้าโรงเรียน หรือใครถามก็บอกว่าเป็นบุตรของคน เป็นต้น เพราะฉะนั้นถ้ามีพฤติการณ์ดังเช่นว่านี้ เด็กนั้นก็มีสิทธิรับมรดกของบิดา (เจ้ามรดก) เหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายทุกประการ

ลำดับที่ 2 บิดามารดาของเจ้ามรดก ในกรณีของบิดา บิดานั้นจะต้องเป็นบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายของเจ้ามรดก ถ้าเป็นบิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย (กล่าวคือ ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับมารดาของเจ้ามรดก) แม้ว่าจะได้มีพฤติการณ์รับรองบุตรนอกกฎหมายว่าเจ้ามรดกเป็นบุตรตน ดังกล่าวในข้อ ข. ก็ตาม ก็ไม่มีสิทธิได้รับมรดกของบุตรตน ส่วนมารดานั้นย่อมเป็นมารดาโดยชอบด้วยกฎหมายของเจ้ามรดกเสมอ ไม่ว่าจะได้จดทะเบียนสมรสกับบิดาของเจ้ามรดกหรือไม่ก็ตาม

ข้อสังเกต

(1) บิดามารดาบุญธรรม ไม่มีสิทธิรับมรดกของบุตรบุญธรรม

(2) ในกรณีที่บิดาหรือมารดาทำการสมรสใหม่ หลังจากขาดจากการสมรสแล้วแม่เลี้ยง หรือพ่อเลี้ยงย่อมไม่มีสิทธิรับมรดกของลูกเลี้ยง

(3) ลูกเขยไม่มีสิทธิได้รับมรดกของพ่อตา หรือแม่ยาย และพ่อตาแม่ยายก็ไม่มีสิทธิรับมรดกของลูกเขยเช่นกัน

(4) ลูกสะใภ้ไม่มีสิทธิรับมรดกของแม่สามีหรือพ่อสามี และแม่สามีหรือพ่อสามีก็ไม่มีสิทธิรับมรดกของลูกสะใภ้เช่นกัน

ลำดับที่ 3 พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกับเจ้ามรดก คือ พี่น้องเจ้ามรดกที่เกิดจากบิดามารดาเดียวกัน

ลำดับที่ 4 พี่น้องร่วมแต่บิดา หรือพี่น้องร่วมแต่มารดาของเจ้ามรดก (หรือที่เรียกลูกติดพ่อลูกติดแม่)

ลำดับที่ 5 ปู่ย่า ตา ยาย ของเจ้ามรดก หมายถึง ปู่ ย่า ตา ยาย ของเจ้ามรดกจริง ๆ ไม่ใช่เป็นแต่เพียงนับถือว่าเป็นญาติ

ลำดับที่ 6 ลุง ป้า น้า อา ของเจ้ามรดก หมายถึง ผู้ที่เป็นลุง ป้า น้า อา ของเจ้ามรดกจริง ๆ ไม่ใช่แต่เพียงเรียกว่า ลุง ป้า น้า อา


2. คู่สมรสคือ สามี หรือภริยาของผู้ตาย

หลักในการแบ่งมรดกระหว่างทายาทโดยธรรม
หลัก
1.มี 1 ให้รับเท่า 1
2.ไม่มี 1 แต่มี 2 หรือ 3 ให้คู่สมรสรับไปก่อน 1/2 ส่วน
3.ไม่มี 1 และ 2 และ 3 แต่มี 4 หรือ 5 หรือ 6 ให้คู่สมรสรับไปก่อน 2/3 ส่วน
4.ไม่มีทายาทโดยธรรมประเภทญาติ คู่สมรสรับไปเต็ม ๆ

ส่วนในการแบ่งมรดกระหว่างทายาทโดยธรรมประเภทญาติมีหลักว่า
1.หลักญาติสนิทตัดญาติห่าง
ให้ ญาติสนิทที่สุดมีสิทธิได้รับมรดกเหนือกว่าญาติที่ห่างออกไป หากญาติสนิทที่สุดยังมีชีวิตอยู่ ญาติที่สนิทน้อยลงไปจะไม่มีสิทธิได้รับมรดกเลย
2.แต่ลำดับที่ 1 ไม่ตัด ลำดับที่ 2

เช่น ต้องแบ่งมรดกกันในระหว่างญาติเท่านั้นในการพิจารณาว่า ทายาทประเภทญาติจะได้รับมรดกเพียงใดมีดังนี้ กฎหมายได้ให้ทายาทในลำดับที่ 1 กับลำดับที่ 2 ได้รับมรดกร่วมกันก่อน ถ้าไม่มีบุคคลทั้งสองลำดับ ทายาทในลำดับที่ 3 จึงจะได้รับมรดก เช่น เจ้ามรดกตาย ในขณะตายเจ้ามรดกไม่มีพ่อ ไม่มีแม่ ไม่มีลูก มีแต่พี่น้องร่วมพ่อแม่เดียวกัน และมีลุงอีก 1 คน ตามตัวอย่าง พี่น้องจึงมีสิทธิได้รับมรดกเพียงลำดับเดียว ส่วนลุงไม่ได้ เพราะเป็นทายาทในลำดับที่ห่าง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น