วันพฤหัสบดีที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

จะแต่งงานกับอิสลาม ทำไมต้องเปลี่ยนศาสนา

จะแต่งงานกับอิสลาม ทำไมต้องเปลี่ยนศาสนา
หลาย คนสอบถามเรื่อง เกี่ยวกับว่าทำไมจะต้องเปลี่ยนศาสนาล่ะ ถ้าจะแต่งงานกับมุสลิม (ใช้เรียกผู้ที่นับถืออิสลาม) เพราะอิสลามนั้นมีทั้งหลักศรัทธา และหลักปฏิบัติ ถ้าอยู่ด้วยกันแล้วความเชื่อไม่เหมือนกัน ทุกอย่างย่อมจะมีปัญหาตามมา

การแต่งงานไม่ใช่เรื่องของคน 2 คน แต่มันคือการรวมญาติทุกฝ่ายเข้ามา แนวทางคนละอย่าง แรก ๆ อาจจะบอกว่า เรารักกัน เขานิสัยดี เธอนิสัยดี เราเข้ากันได้เป็นอย่างดี แต่ในความเป็นจริงแล้ว ต่างคนต่างมีวิถีปฏิบัติที่แตกต่างกันไป ปกติศาสนาเดียวกัน แต่งงานกันเองยังมีความแตกต่าง ยังมีปัญหาสารพัด จนอยู่กันไม่ยืด นี่คนละศาสนา Life Style คนละแบบ รูปแบบการใช้ชีวิตต่างกัน...จะเห็นว่า อิสลาม เป็นศาสนาที่ใส่ใจกับทุกรายละเอียดของชีวิต เราจึงต้องให้ความสำคัญกับเรื่องศาสนา เพื่อไม่ต้องมาเจอปัญหาแบบนี้ในภายหลัง

คนละศาสนา แน่นอนความเชื่อ และความศรัทธาที่แตกต่างกันย่อมมีผลต่อการดำรงชีวิตคู่ หากต่างคนต่างความเชื่อแล้วอยู่กันยังได้ ตรงนี้ถ้าในทัศนะอิสลามแล้ว แสดงว่าหย่อนยานทางศาสนา สุดท้ายหมดรักกันแล้ว มักจะแยกย้ายกันไป มีลูกก็จะเป็นปัญหาจะไปทางใด ต่างยื้อยุดฉุดไปในทิศทางการเลี้ยงดูตามความเชื่อของฝ่ายตน

หากจะกล่าวว่า ก็ต่างคนต่างอยู่ในความเชื่อของตนไปสิ เราลองมาดูรายละเอียดปลีกย่อยที่ยามรักแล้วมองข้ามกัน ...

คนหนึ่งไม่ทานหมู ไม่ทานเหล้า อีกคนทานทุกอย่าง อีกฝ่ายจะกล้าทำความสะอาดไหม

คนหนึ่งทานเนื้อ อีกคนไม่ทานเนื้อ

คนหนึ่งไปเชงเม้งกลางแดดที่ต่างจังหวัด อีกคนไม่ไปแดดร้อนจัด

คนหนึ่งไหว้เจ้า อีกคนประกอบพิธีทางศาสนาบ่อย ๆ

คนหนึ่งเคร่งครัดในพิธีการ ละหมาด 5 เวลา อีกคนจะรำคาญไหม

ครอบครัวต่างความเชื่อ ตรงนี้เห็นชัดเจน ทั้งพิธีการ ความศรัทธาและหลักปฏิบัติ อยู่ไปเรื่อย ๆ ก็จะเผยกันมาเอง ทำไมแฟนลูกไม่มา ทำไมหลานเขย หลานสะใภ้ไม่มา ทั้งที่อิสลามส่งเสริมเรื่องไปมาหาสู่ระหว่างญาติพี่น้อง มิให้ทอดทิ้งกัน

ถ้าอีกฝ่ายอยากจะเลี้ยงสุนัข อีกฝ่ายจะอยู่อย่างไร เพราะมีข้อปฏิบัติเรื่องน้ำลายสุนัข

ถ้ามาอยู่กันเอง ผู้ที่นับถืออิสลามก็มีความผิดทางศาสนา ในเรื่องของซินา (มีความสัมพันธ์โดยที่มิได้แต่งงานกันตามหลักศาสนา) ซึ่งบุตรที่เกิดมาจากการซินาจะมีผลในการปฏิบัติตามหลักศาสนา เช่น สิทธิรับมรดกของพ่อ

เมื่อมาใช้ชีวิตด้วยกันก็อยากที่จะให้อีกฝ่ายทำในสิ่งที่ดีตามไปด้วย แรก ๆ อาจจะเพราะรักจึงยอมทุกอย่าง แต่พอหมดรัก สิ่งที่เคยมองข้ามเพราะอารมณ์รักบังตาก็จะผุดงอกเงยขึ้นมาทันตา สุดท้ายความรักจืดจาง ปัญหาก็จะเริ่มสะสม จากที่ละน้อยที่เคยมองข้ามกันไป

ปัญหา ครอบครัวส่วนมากมาจาก ปัญหาเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่มองข้ามกันแต่เริ่มแรก รักอย่างเดียวไม่รอดหรอกครับ ต้องใจ..(นักเลง) และเข้าใจถึงวิถีปฏิบัติของกันและกันด้วย

ปัญหามีมาหลาย ๆ อย่าง แต่ถ้าเปลี่ยนความเชื่อมาศรัทธาเหมือน ๆ กันเห็นหลาย ๆ คนยังเลิกรา ตรงนี้ต้องไปมองดูรายละเอียดส่วนบุคคลแล้วว่า ปฏิบัติตามหลักศาสนาจริง ๆ รึเปล่า ไม่ใช่พอแฟนออกจากบ้าน ก็ทำเช่นเดิมทันที คุณแฟนมาก็ซ่อนแอบไว้ สุดท้ายจับได้ ก็ทะเลาะกันไปหาว่าไม่เชื่อใจกัน

บาง คนบอกแฟนเป็นคนเคร่งศาสนา ไม่เห็นทานหมู บอกว่าต่างคนต่างอยู่ก็ได้ เอ...ถ้าเคร่งครัดจริง นอกจากไม่ทานหมู ก็ต้องไม่ทานเหล้า และละหมาด 5 เวลา กิริยาวาจาเรียบร้อย ไม่ล่วงละเมิดจับมือสาว หรือขั้นมีความสัมพันธ์ด้านอื่น ๆ ที่เกินเลย ทั้งที่ยังไม่แต่งงานกัน ไม่เที่ยวตามสถานอโคจร และเป็นบุตรที่ดีของพ่อแม่ นี่แหละครับ คนที่เป็นมุสลิมที่ดี และปฏิบัติจริง ถ้านอกจากนี้ ไม่ทานหมูแต่ทานเหล้า ไม่เคยละหมาด พูดจากไม่สุภาพ เที่ยวหลีผู้หญิง ละทิ้งพ่อแม่ ก็เป็นได้แค่ศาสนาที่ระบุตามกล่าวอ้างกับทางราชการไว้เท่านั่นแหละครับ

เพราะว่าเราเข้ากันได้ (คำตอบที่ได้ยินกันทั่วไป) แสดงว่าต้องมีอะไรที่เหมือนกันคล้าย ๆ กันจึงเข้ากันได้ นี่แหละครับการนับถือศรัทธาเหมือน ๆ กัน ก็ย่อมที่จะเข้ากันและไปได้ดีกว่า บางคนอาจจะสงสัยว่า แล้วเปลี่ยนมานับถือแล้วต้องมีปัญหากับที่บ้านแน่ ๆ ตรงนี้ ผู้ที่จะเข้ารับก็ต้องคุยกับทางบ้านเสียก่อน อย่าลืมว่า อิสลามไม่ได้บังคับขู่เข็นให้มารับนอกจากจะศรัทธา หากไม่ศรัทธาจริง ๆ ไม่สามารถปฏิบัติได้แนะนำว่าหาคนที่มีความเหมือนกันดีกว่า

เพราะความเชื่อต่างกัน หลักปฏิบัติต่างกัน ในความเป็นจริง ถ้าไม่เหมือนกันก็อยู่กันยากครับ ชีวิตคู่นะครับไม่ได้มาค้างเพียง 1 คืน แล้วจากลาไป นอกจากต่างคนต่างไม่มีศาสนาก็จะอยู่กันได้ครับ ^^"

ถ้า มาเพราะความรัก แนะนำให้ศึกษาวิถีปฏิบัติของอิสลามเสียก่อนครับ เพราะอย่างน้อยถ้าเราหันมานับถือเราก็ต้องปฏิบัติในสิ่งเหล่านี้ แต่ถ้าไม่สามารถทำได้ ให้คุยกับคนของคุณ ว่ามีปัญหานะไม่เข้าใจ เพราะอิสลามความศรัทธาและการปฏิบัติสำคัญมาก ดังนั้น แนะนำให้ศึกษาศาสนาเสียก่อน ศึกษาจากผู้รู้และปฏิบัติจริง มิใช่สอบถามจากผู้มีศาสนาแค่บัตรประชาชน หรือไม่มีศาสนาเลย เพราะคุณจะไม่ได้รับคำตอบที่ถูกต้องในเรื่องของศาสนานั่นเอง

แต่ถ้ามั่นใจไปกันได้ ถึงญาติจะแตกต่างซึ่งแนวทาง แต่ถ้ารู้หลักศาสนาแล้ว จะมีแนวทางที่ไปกันได้อย่างราบรื่นครับเพราะอิสลามมีแนวทางในทุกเรื่อง

เรียนรู้เพื่อเข้าใจยอมรับ มิใช่ จำเป็นต้องยอมรับเพราะรักเขาอย่างเดียวจนอะไรก็ทำได้ ตรงนี้หมดรักแล้วมีปัญหาแน่ ๆ ลองศึกษาดูว่าทำไมเขาถึงไม่เปลี่ยนมาเป็นแบบคุณแสดงว่าในนั้นมันมีอะไร อะไรตรงไหนที่บอกว่า อิสลามกับคริสต์และยูดาย แต่งกันได้ทำไมเขาถึงมารักกับคุณ ทั้งที่คนละศาสนากัน

อิสลามให้ความสำคัญกับศาสนา

1. พระเจ้า และรอซูล(ศาสนทูตผู้เผยแพร่ศาสนา)
2. มารดา บิดา
3. สามี-ภรรยา
4. บุตร
5. มิตร บุคคลทั่วไป

ถ้า เปลี่ยนมาแล้ว กับพ่อแม่ที่ต่างศาสนา อิสลามก็ยังส่งเสริมให้ปฏิบัติดีทุกอย่างกับแม่ พ่อ เคารพเชื่อฟังท่าน ทำความดีกับท่าน อย่างเต็มความสามารถ (ที่ไม่ขัดกับหลักการอิสลาม) โดยลำดับความสำคัญนั้นรองลง มาจาก พระเจ้าและรอซูล (ศาสนทูตผู้เผยแพร่ศาสนา) แม่ มาก่อนพ่อ เพราะแม่เป็นผู้ดูแลเลี้ยงดูบุตรทุกอย่าง และในเรื่องของครอบครัว ระหว่างสามีภรรยานั้น ภรรยาก็ต้องเคารพสามี แต่ถ้ามารดาสั่งอะไรที่เกินเลยศาสนา และละเมิดสิทธิระหว่างสามีภรรยาอันนี้ต้องมาพูดคุยกันแล้ว...

เพิ่มเติม...ถ้าจะเข้ารับแล้วมีคนในที่นับถืออิสลาม (ไม่ใช่ผู้รู้ เพราะบางคนที่นับถือใช่ว่าจะรู้ทั้งหมด อาจปฏิบัติผิดพลาดกันได้) บอกว่าต้องทำอย่างนั้นอย่างนี้ แนะให้ศึกษาจากผู้รู้ดีกว่าครับ จะได้ไม่มีข้อผิดพลาดและเกิดความเข้าใจผิดเข้าใจคลาดเคลื่อนกันเอง

หรือเพราะต่างคนต่างรัก เลยลืมทุกอย่าง อิสลามไม่ใช่เพียงการนับถือแต่คือการปฏิบัติทุกอย่างในชีวิต พินิจพิเคราะห์พิจารณาดี ๆ ครับ

ควรคิดสักนิด....ก่อนหมั้น

เมื่อกล่าวถึงสินสอดและทองหมั้นทุกท่านคงคิดและเข้าใจไปในทางเดียวกันก็ คือเป็นเรื่องเกี่ยวกับการแต่งงาน ซึ่งตามประเพณีไทยไม่ว่าจะเป็น เหนือ อีสาน กลาง ใต้ ออก ตก ก็มีธรรมเนียมประเพณีแตกต่างกันไป แต่ยังคงไว้ซึ่งจุดมุ่งหมายอันเดียวกันนั่นคือคำมั่นสัญญาของชายและหญิงว่า จะสมรสอยู่กินกันฉันสามีภรรยาต่อไป ไม่ว่าตามจารีตประเพณีจะเป็นเช่นไร แต่หากเกิดกรณีพิพาทกันขึ้นในเรื่องสินสอดและทองหมั้น ทรัพย์สินต่างๆที่ให้ไว้แก่กันนั้นจะเป็นสินสอดและของหมั้นที่กฎหมายให้ความ คุ้มครองหรือไม่ หรือใครจะเป็นผู้มีสิทธิในทรัพย์สินนั้นก็ต้องนำหลักกฎหมาย (ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ ๕ ลักษณะ ๑ หมวด ๑ การหมั้น) มาใช้ในการวินิจฉัย

ของหมั้น ตามกฎหมายต้องมีลักษณะสำคัญ ดังนี้

1. ของหมั้นต้องเป็นทรัพย์สิน ไม่ว่าจะเป็นแก้ว แหวน เงินทอง รถยนต์ ไปจนถึงบ้าน คอนโด ที่ดิน และยังรวมไปถึงสิทธิต่างๆที่ตีมูลค่าเป็นเงินได้ก็เป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่ง ที่เป็นของหมั้นได้

2. ของหมั้นต้องเป็นสิ่งที่ฝ่ายชายได้ให้ไว้แก่ตัวหญิงเอง และหญิงได้รับของสิ่งนั้นไว้เอง แต่ถ้าเป็นสิ่งที่ หญิงให้แก่ชาย หรือ หญิงให้แก่หญิง หรือ ชายให้กับชาย ในทางกฎหมายไม่อาจถือว่าของสิ่งนั้นเป็นของหมั้นแม้ผู้ให้และผู้รับเจตนาที่ จะให้สิ่งของเหล่านั้นเป็นของหมั้นก็ตาม แต่ถือเป็นเพียงการให้โดยสเน่หาอย่างหนึ่งเท่านั้น

3. ของหมั้นต้องส่งมอบหรือโอนให้แก่หญิงในวันหมั้นโดยหญิงได้รับไว้หรือรับโอน ทางทะเบียนในกรณีที่ของหมั้นเป็นทรัพย์สินที่ต้องจดทะเบียนต่อเจ้าหน้าที่ เช่น บ้าน ที่ดิน เป็นต้น หากเป็นเป็นเพียงสัญญาจะให้แต่ไม่มีการส่งมอบหรือโอนให้กันจริงในวันหมั้น ทรัพย์สินเหล่านั้นไม่ถือเป็นของหมั้นตามกฎหมายและหญิงไม่อาจฟ้องเรียกให้ ส่งมอบในภายหลังได้

4. ของหมั้นนั้นฝ่ายชายต้องให้แก่หญิงโดยมีเจตนาที่จะให้ของหมั้นนั้นเป็นหลัก ฐานว่าจะสมรสหญิงต่อไปซึ่งต้องมีเจตนาไปถึงขั้นที่ว่าจะจดทะเบียนสมรสด้วย มิใช่ประสงค์แต่เพียงจะจัดงานสมรสขึ้นในภายหลังเท่านั้น ทั้งของหมั้นนี้ต้องได้ให้ไว้ก่อนการจดทะเบียนสมรสด้วยมิเช่นนั้นแล้วของ สิ่งนั้นก็ไม่ถือว่าเป็นของหมั้นเป็นแต่เพียงการให้โดยสเน่หา

หากของสิ่งใดเข้าลักษณะเป็นของหมั้นดังกล่าวแล้วของสิ่งนั้นก็จะตก เป็นสิทธิแก่หญิงทันทีซึ่งฝ่ายชายอาจเรียกคืนได้เฉพาะในกรณีที่หญิงผิดสัญญา ไม่สมรสด้วยเท่านั้น

ส่วนสินสอดนั้น ต้องมีลักษณะสำคัญดังนี้

1. สินสอดต้องเป็นทรัพย์สินเช่นเดียวกับของหมั้น

2. สินสอดต้องเป็นสิ่งที่ฝ่ายชายให้แก่พ่อแม่ ผู้ปกครองของหญิงซึ่งมิได้ให้แก่ตัวหญิงเองอย่างของหมั้น เจตนารมณ์ของกฎหมายมุ่งไปที่ตัวพ่อแม่ ผู้ปกครองของหญิง หากหญิงไม่มีตัวบุคคลดังกล่าวอยู่แล้วแม้จะมีการตกลงกันให้มอบทรัพย์สินนั้น แก่หญิงเองก็ไม่ทำให้ทรัพย์สินนั้นเป็นสินสอดไปได้ และสินสอดที่ตกลงให้กันนี้ไม่จำเป็นที่จะต้องส่งมอบให้แก่ฝ่ายหญิงทันที อย่างของหมั้นเพียงแต่ตกลงที่จะให้หรือจะนำมาให้ภายหลังก็เพียงพอแล้วที่จะ ทำให้ทรัพย์สินดังกล่าวเป็นสินสอดที่ทำให้ฝ่ายหญิงมีสิทธิเรียกร้องได้

3. สินสอดต้องเป็นทรัพย์สินที่ให้เพื่อตอบแทนการที่หญิงยอมสมรสด้วยซึ่งต้องกิน ความถึงขนาดที่จะต้องมีการจดทะเบียนสมรสกันตามกฏหมาย แต่ไม่ใช่การให้แก่พ่อแม่ ผู้ปกครองของหญิงที่ให้ความยินยอมในกรณีที่หญิงยังเป็นผู้เยาว์

สินสอดเมื่อให้แล้วจะตกเป็นสิทธิของพ่อแม่ ผู้ปกครองของหญิงทันทีแม้ชายหญิงจะยังไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันก็ตามเพียงแต่ ฝ่ายชายอาจเรียกสินสอดคืนได้ถ้าการสมรสไม่มีขึ้นเพราะตัวหญิงเองเป็นต้นเหตุ หรือเป็นเหตุที่ฝ่ายหญิงต้องรับผิดชอบ ซึ่งในกรณีนี้รวมไปถึงพ่อแม่ ผู้ปกครอง ที่เป็นเหตุให้ไม่มีการสมรสขึ้น ถึงอย่างไรก็ตามชายหญิงจะทำการหมั้น หรือการสมรสกันโดยไม่มีสินสอดก็ได้ เพียงแต่ว่าหากมีการตกลงให้สินสอดกันแล้ว พ่อแม่ ผู้ปกครองของหญิงเท่านั้นมีสิทธิเรีนกเอาสินสอดดังกล่าวได้

จากลักษณะสำคัญของทั้งสินสอดและของหมั้นดังกล่าวจะทำให้สามารถเห็น ภาพของสินสอดและทองหมั้น (ของหมั้น) ในทางกฎหมายได้ดียิ่งขึ้นมากกว่าความเข้าใจในแบบจารีตประเพณีทั่วไป ซึ่งหลักเกณฑ์ดังกล่าวจะทำให้เกิดสิทธิตามสัญญาหมั้นแก่ฝ่ายชายและฝ่ายหญิง ที่จะเรียกร้องหรือเรียกคืนสินสอดและของหมั้นระหว่างกันได้เท่านั้น แต่การทำสัญญาหมั้นไม่ได้เป็นเงื่อนไขของการสมรสว่าจะต้องมีการหมั้นก่อนแต่ ประการใดแม้ว่าการให้ของหมั้นนั้นจะเป็นการให้เพื่อเป็นหลักฐานว่าจะสมรสกัน หรือการให้สินสอด ที่เป็นการให้ไว้เพื่อตอบแทนการที่หญิงยินยอมสมรสก็ไม่ได้หมายความว่าหากมี การผิดสัญญาคือไม่มีการสมรสเกิดขึ้นแล้วจะมีใครไปบังคับให้ชายหญิงต้องสมรส กันได้ ซึ่งหากมีการบังคับกันจริงการสมรสนั้นก็ไม่สมบูรณ์ตามกฎหมายเพราะการสมรสจะ เกิดขึ้นโดยสมบูรณ์ได้ชายหญิงต้องยินยอมเป็นสามีภรรยากันเท่านั้น ดังนั้นความยินยอมในทางกฎหมายหรือความรักตามหลักความเป็นจริงจึงเป็นปัจจัย ที่สำคัญที่สอดคล้องกันอันจะทำให้การสมรสของชายและหญิงเกิดขึ้นได้โดย สมบูรณ์

แบ่งมรดกอย่างไรดีให้ถูกกฎหมาย

แบ่งมรดกอย่างไรดีให้ถูกกฎหมาย
มีผู้สอบถามปัญหาเกี่ยวกับมรดกมาเป็นจำนวนมาก
ผมคิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์ให้กับอีกหลาย ๆ คน

....................................................................................................

ทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกกฎหมายจึงแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ทายาทโดยธรรม และผู้รับพินัยกรรม

หลักในการแบ่งมรดก
1.หากมีทายาทโดยพินัยกรรมและทายาทโดยธรรม ให้แบ่งมรดกให้แก่ทายาทโดยพินัยกรรมก่อน

ผู้รับพินัยกรรมผู้รับพินัยกรรม หมายถึง บุคคลซึ่งผู้ตายหรือเป็นบุคคลภายนอกทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินให้ผู้รับ พินัยกรรมอาจเป็นญาติพี่น้องของผู้ตายก็ได้ พินัยกรรมนั้นกฎหมายบังคับว่าจะต้องทำเป็นหนังสือและถูกต้องตามแบบที่กฎหมาย กำหนดไว้

ข้อสังเกตหนังสือที่จะเป็นพินัยกรรมนั้น จะต้องมีข้อความระบุว่าจะยกทรัพย์สินให้ผู้ใดเมื่อผู้ทำพินัยกรรมถึงแก่ความ ตาย ถ้าไม่มีข้อความดังกล่าวระบุไว้ หนังสือนั้นอาจเป็นหนังสือยกทรัพย์สินให้โดยเสน่ห์หาก็ได้ ผู้ทำพินัยกรรมจึงต้องระมัดระวังในเรื่องนี้

แบบของพินัยกรรมกฎหมายกำหนดแบบของพินัยกรรมไว้ 5 แบบ ผู้ทำพินัยกรรมประสงค์จะทำแบบใดแบบหนึ่งก็สามารถเลือกได้ตามใจชอบ

แบบที่ 1 พินัยกรรมแบบธรรมดา
ต้องทำเป็นหนังสือ ซึ่งจะเขียนหรือพิมพ์ก็ได้ เจ้ามรดกจะเขียนหรือพิมพ์เองก็ได้หรือให้คนอื่นเขียนหรือพิมพ์แทนก็ได้ เจ้ามรดกผู้ทำพินัยกรรมจะต้องเซ็นชื่อต่อหน้าพยานอย่างน้อย ๒ คนพร้อมกัน

แบบที่ 2 พินัยกรรมแบบเขียนเองทั้งฉบับ
เจ้ามรดกผู้ทำพินัยกรรมจะต้องเขียนข้อความในพินัยกรรมทั้งฉบับ ด้วยลายมือของตนเอง เจ้ามรดกผู้ทำพินัยกรรม จะต้องลงลายมือชื่อ (ลายเซ็น) ไว้ในพินัยกรรมนั้นจะลงลายพิมพ์นิ้วมือไม่ได้
ข้อสังเกต พินัยกรรมแบบที่ ๒ นี้ไม่ต้องมีพยานรู้เห็นในการทำพินัยกรรมแต่อย่างไร

แบบที่ 3 พินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง
เป็นพินัยกรรมที่ทางบ้านเมืองเป็นผู้จัดทำให้ คือต้องไปติดต่อขอทำพินัยกรรมแบบนี้ที่ที่ว่าการอำเภอให้จัดการทำให้ โดยเป็นหน้าที่ของนายอำเภอ โดยผู้ทำพินัยกรรมต้องไปแจ้งข้อความที่ตนประสงค์จะให้ใส่ไว้ในพินัยกรรมของ ตน แก่นายอำเภอ

แบบที่ 4 พินัยกรรมแบบเอกสารลับ
เป็นพินัยกรรมที่ทำขึ้นโดยมีลักษณะเป็นเอกสารลับกล่าวคือผู้ทำพินัยกรรมกับ ผู้เขียนพินัยกรรม (ในกรณีที่ผู้อื่นเป็นผู้เขียน) เท่านั้นที่จะรู้ว่าพินัยกรรมนั้นมีข้อความอย่างไร ซึ่งพินัยกรรมแบบนี้มีหลักเกณฑ์และขั้นตอนในการทำดังนี้คือ ผู้ทำพินัยกรรมต้องผนึกพินัยกรรมนั้นแล้วลงลายมือชื่อคาบรอยผนึกนั้น ผู้ทำพินัยกรรมต้องนำพินัยกรรมที่ผนึกนั้นไปแสดงต่อนายอำเภอและพยานอีกอย่าง น้อย ๒ คน และให้ถ้อยคำต่อบุคคลทั้งหมดเหล่านั้นว่าเป็นพินัยกรรมของตน ถ้าพินัยกรรมนั้นผู้ทำพินัยกรรมมิได้เป็นผู้เขียนเองโดยตลอด ผู้ทำพินัยกรรมจะต้องแจ้งนามและภูมิลำเนาของผู้เขียนให้ทราบด้วย

แบบที่ 5 พินัยกรรมโดยวาจา
กรณีที่มีพฤติการณ์พิเศษ ไม่อาจทำพินัยกรรมตามแบบที่ 1 – 4 ได้ เนื่องจากไม่อยู่ในวิสัยที่จะได้

ข้อควรระวังในการทำพินัยกรรม
1. ผู้เขียน หรือพยานในพินัยกรรม รวมทั้งคู่สมรสของผู้เขียนหรือพยานในพินัยกรรมแบบต่าง ๆ นั้นจะเป็นผู้รับทรัพย์ตามพินัยกรรมนั้นไม่ได้
2. บุคคลที่มีสถานะดังต่อไปนี้จะเป็นพยานในพินัยกรรมไม่ได้คือ
ก. ผู้ซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะ
ข. บุคคลวิกลจริตหรือบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นผู้เสมือนไร้ความสามารถ
ค. บุคคลที่หูหนวกเป็นใบ้หรือตาบอดทั้ง ๒ ข้าง

2.เมื่อแบ่งให้ทายาทโดยพินัยกรรมแล้ว ส่วนที่เหลือให้นำมาแบ่งให้ทายาทโดยธรรม

ทายาทโดยธรรมตามกฎหมายแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
1. ญาติ แบ่งออกเป็น 6 ลำดับ
ลำดับที่ 1 ผู้สืบสันดาน ได้แก่ บุตรของผู้ตาย ซึ่งอาจจะได้แก่บุตรในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง ดังต่อไปนี้ คือ
(ก) บุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของเจ้ามรดก ได้แก่ บุตรประเภทใดประเภทหนึ่งดังต่อไปนี้

(1) บุตรที่เกิดจากบิดา (ซึ่งเป็นเจ้ามรดก) กับมารดาซึ่งบิดามารดานั้นได้จดทะเบียนสมรสกันถูกต้องตามกฎหมาย

(2) บุตรบุญธรรมของเจ้ามรดก กล่าวคือ เป็นบุคคลที่เจ้ามรดกได้จดทะเบียนรับเป็นบุตรบุญธรรม

(3) บุตรซึ่งบิดา (ซึ่งเป็นเจ้ามรดก) กับมารดาได้จดทะเบียนสมรสกันภายหลังจากที่บุตรได้เกิดแล้ว

(ข) บุตรนอกกฎหมาย หมายถึง บุตรที่บิดา (ซึ่งเป็นเจ้ามรดก) ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับมารดา แต่มีพฤติการณ์ที่เปิดเผยบางอย่างของบิดาที่เป็นการรับรองว่าเด็กนั้นเป็น บุตรของตน เช่น อนุญาตให้เด็กใช้นามสกุลของคน หรือเป็นธุระพาบุตรไปฝากเข้าโรงเรียน หรือใครถามก็บอกว่าเป็นบุตรของคน เป็นต้น เพราะฉะนั้นถ้ามีพฤติการณ์ดังเช่นว่านี้ เด็กนั้นก็มีสิทธิรับมรดกของบิดา (เจ้ามรดก) เหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายทุกประการ

ลำดับที่ 2 บิดามารดาของเจ้ามรดก ในกรณีของบิดา บิดานั้นจะต้องเป็นบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายของเจ้ามรดก ถ้าเป็นบิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย (กล่าวคือ ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับมารดาของเจ้ามรดก) แม้ว่าจะได้มีพฤติการณ์รับรองบุตรนอกกฎหมายว่าเจ้ามรดกเป็นบุตรตน ดังกล่าวในข้อ ข. ก็ตาม ก็ไม่มีสิทธิได้รับมรดกของบุตรตน ส่วนมารดานั้นย่อมเป็นมารดาโดยชอบด้วยกฎหมายของเจ้ามรดกเสมอ ไม่ว่าจะได้จดทะเบียนสมรสกับบิดาของเจ้ามรดกหรือไม่ก็ตาม

ข้อสังเกต

(1) บิดามารดาบุญธรรม ไม่มีสิทธิรับมรดกของบุตรบุญธรรม

(2) ในกรณีที่บิดาหรือมารดาทำการสมรสใหม่ หลังจากขาดจากการสมรสแล้วแม่เลี้ยง หรือพ่อเลี้ยงย่อมไม่มีสิทธิรับมรดกของลูกเลี้ยง

(3) ลูกเขยไม่มีสิทธิได้รับมรดกของพ่อตา หรือแม่ยาย และพ่อตาแม่ยายก็ไม่มีสิทธิรับมรดกของลูกเขยเช่นกัน

(4) ลูกสะใภ้ไม่มีสิทธิรับมรดกของแม่สามีหรือพ่อสามี และแม่สามีหรือพ่อสามีก็ไม่มีสิทธิรับมรดกของลูกสะใภ้เช่นกัน

ลำดับที่ 3 พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกับเจ้ามรดก คือ พี่น้องเจ้ามรดกที่เกิดจากบิดามารดาเดียวกัน

ลำดับที่ 4 พี่น้องร่วมแต่บิดา หรือพี่น้องร่วมแต่มารดาของเจ้ามรดก (หรือที่เรียกลูกติดพ่อลูกติดแม่)

ลำดับที่ 5 ปู่ย่า ตา ยาย ของเจ้ามรดก หมายถึง ปู่ ย่า ตา ยาย ของเจ้ามรดกจริง ๆ ไม่ใช่เป็นแต่เพียงนับถือว่าเป็นญาติ

ลำดับที่ 6 ลุง ป้า น้า อา ของเจ้ามรดก หมายถึง ผู้ที่เป็นลุง ป้า น้า อา ของเจ้ามรดกจริง ๆ ไม่ใช่แต่เพียงเรียกว่า ลุง ป้า น้า อา


2. คู่สมรสคือ สามี หรือภริยาของผู้ตาย

หลักในการแบ่งมรดกระหว่างทายาทโดยธรรม
หลัก
1.มี 1 ให้รับเท่า 1
2.ไม่มี 1 แต่มี 2 หรือ 3 ให้คู่สมรสรับไปก่อน 1/2 ส่วน
3.ไม่มี 1 และ 2 และ 3 แต่มี 4 หรือ 5 หรือ 6 ให้คู่สมรสรับไปก่อน 2/3 ส่วน
4.ไม่มีทายาทโดยธรรมประเภทญาติ คู่สมรสรับไปเต็ม ๆ

ส่วนในการแบ่งมรดกระหว่างทายาทโดยธรรมประเภทญาติมีหลักว่า
1.หลักญาติสนิทตัดญาติห่าง
ให้ ญาติสนิทที่สุดมีสิทธิได้รับมรดกเหนือกว่าญาติที่ห่างออกไป หากญาติสนิทที่สุดยังมีชีวิตอยู่ ญาติที่สนิทน้อยลงไปจะไม่มีสิทธิได้รับมรดกเลย
2.แต่ลำดับที่ 1 ไม่ตัด ลำดับที่ 2

เช่น ต้องแบ่งมรดกกันในระหว่างญาติเท่านั้นในการพิจารณาว่า ทายาทประเภทญาติจะได้รับมรดกเพียงใดมีดังนี้ กฎหมายได้ให้ทายาทในลำดับที่ 1 กับลำดับที่ 2 ได้รับมรดกร่วมกันก่อน ถ้าไม่มีบุคคลทั้งสองลำดับ ทายาทในลำดับที่ 3 จึงจะได้รับมรดก เช่น เจ้ามรดกตาย ในขณะตายเจ้ามรดกไม่มีพ่อ ไม่มีแม่ ไม่มีลูก มีแต่พี่น้องร่วมพ่อแม่เดียวกัน และมีลุงอีก 1 คน ตามตัวอย่าง พี่น้องจึงมีสิทธิได้รับมรดกเพียงลำดับเดียว ส่วนลุงไม่ได้ เพราะเป็นทายาทในลำดับที่ห่าง

การให้ที่มีค่าตอบแทน ไม่ใช่การให้โดยเสน่หา

การให้ที่มีค่าตอบแทน ไม่ใช่การให้โดยเสน่หา
มีหญิงคนหนึ่งเป็นบุตรบุญธรรม ไถ่ถอนที่จากสหกรณ์ให้พ่อแม่บุญธรรม ๑ แปลงและได้ลงชื่อให้เธอนั้นไว้ทำกิน เธอได้สร้างบ้านบนที่ สค.๑ ซึ่งเป็นที่ติดกับที่ดินแปลงที่ไถ่ถอนมา ต่อมาพ่อจะฟ้องเรียกคืนที่ดินและขับไล่ออกจากบ้านที่เธอนั้นได้สร้าง เธอดูแลพ่อโดยการฉีดยาเบาหวานให้ทุกวัน ไม่เคยโต้เถียง กระทำเนรคุณเลย มีแต่พ่อสั่งไม่ต้องมาฉีดยาและบอกว่ามีบุตรสาวแท้ๆ มาดูแลแทน ไม่ให้เธอมาอีก และต่อมาได้บอกให้เธอขายที่ดินที่ไถ่ถอนมาเพื่อพ่อจะเอาเงิน เธอปฏิเสธเพราะได้เคยไถ่ถอนที่ให้มาแล้ว ๒ แปลงจึงให้พ่อขายที่แปลงอื่น แปลงนี้เธอจะเอาไว้ทำกินเลี้ยงชีพต่อไป พ่อแม่บุญธรรม มีรายได้เพราะเป็นข้าราชการบำนาญและมีบ้านและที่ดินทำตลาดสด มีร้านค้าของตนเอง ไม่รายได้มาก พ่อแม่บุญธรรมจ้างทนายฟ้องเธอคนนั้นเอาที่ดินที่ยกให้คืน
เป็นงัยบ้างครับคงจะมีใครหลายคนคิดว่าจะสามารถทำได้ไหม และจะไล่เธอออกจากบ้านที่เธอปลูกเองบนที่ดินสค.๑ ได้ไหม
************************************************************************
ครับอ่านดูแล้ว คงอยากจะรู้แล้วใช่รึเปล่าละครับ จากเหตุการณ์ ที่ได้สมมุตินี้ทำให้รู้ได้ว่าเรื่องจริงที่เป็นเหมือนดั่งในละคร5555+แต่ก้อไม่ต้องเป็นกังวลครับเพราะถ้าใครเจอเหตุการณ์นี้
1. ไม่จำเป็นต้องคืน เพราะเป็นการให้ที่มีค่าตอบแทน ไม่ใช่การให้โดยเสน่หา ตาม ป.พ.พ. มาตรา 535 (2) เป็นการให้ที่มีค่าภาระติดพัน
2. ไม่ได้ เพราะพ่อแม่บุญธรรมไม่ได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิในที่ดิน สค. 1 จึงไม่มีอำนาจแห่งกรรมสิทธิ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336
ตัวบทกฎหมายอ้างอิง
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 535 การให้อันจะกล่าวต่อไปนี้ ท่านว่าจะถอนคืนเพราะเหตุเนรคุณไม่ได้ คือ
(2) ให้สิ่งที่มีค่าภาระติดพัน
มาตรา 1336 ภายในบังคับแห่งกฎหมาย เจ้าของทรัพย์สินมีสิทธิใช้สอยและจำหน่ายทรัพย์สินของตนและได้ซึ่งดอกผลแห่ง ทรัพย์สินนั้น กับทั้งมีสิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะ ยึดถือไว้ และมีสิทธิขัดขวางมิให้ผู้อื่นสอดเข้าเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินนั้นโดยมิชอบ ด้วยกฎหมาย